สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ Queen Sirikit Botanic Garden Part 2

หลังจากตอนที่แล้ว ที่พาไปเดินทางเดินลอยฟ้า แวะทานข้าว เลือกซื้อต้นไม้ และซื้อของในร้านขายของที่ระลึกแล้ว ตอนนี้จะพาเดินข้ามฝั่งที่จอดรถ ลงบันไดเพื่อไปเดินเที่ยวที่กลุ่มอาคารเรือนกระจกค่ะ

IMG_20160314_140040_resize

เดินลงมาจากที่จอดรถ จะถึงแปลงดอกไม้ ที่นี่เขียนว่าเป็น Rose Garden แต่อาจจะไปไม่ตรงกับช่วงที่ออกดอก ก็เลยไม่ค่อยเห็นดอกกุหลาบค่ะ
แต่ก็เห็นดอกไม้อื่นๆที่ปลูกตกแต่งอยู่บริเวณรอบๆ มีหลายชนิดเหมือนกันค่ะ นี้จะเป็นบรรยากาศรอบๆ ค่ะ

IMG_20160314_120342_resize

IMG_20160314_120509_resize

IMG_20160314_120534_resize

IMG_20160314_120556_resize

IMG_20160314_135925_resize

IMG_20160314_140158_resize

IMG_20160314_140221_resize

IMG_20160314_140257_resize

IMG_20160314_145931_resize

กลุ่มอาคารเรือนกระจก Glasshouse Complex

บริเวณนี้จะมีหลายอาคารอยู่ใกล้ๆกัน แต่ละอาคารจะรวบรวมพรรณไม้ชนิดต่างๆไว้มากมาย แยกตามประเภท ชนิด และสถานที่ปลูก
เช่น พืชที่ขึ้นบริเวณหินปูน พืชทะเลทราย พืชประเภทบัว พืชป่าดิบชื้น และเรือนกล้วยไม้ ลองไปดูรูปสวยๆ กันเลยค่ะ

พืชหินปูน (Limestone Plants)
อาคารแรกเป็นพืชหินปูนค่ะ เมื่อเข้าไปในอาคารจะมีป้ายความรู้เกี่ยวกับหินปูน และพืชที่ขึ้นบนหินปูนได้ ตัวอาคารเป็นอาคารปิด ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ถึงแม้ว่าหินปูนเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืชซักเท่าไหร่ แต่เมื่อพืชที่เติบโตได้บนหินปูนก็สวยงามไม่น้อยเลยทีเดียว

IMG_20160314_140554_resize

IMG_20160314_140702_resize

IMG_20160314_141037_resize

IMG_20160314_141053_resize

IMG_20160314_141452_resize

ถัดจากอาคารพืชหินปูน ก็มีอาคารพืชกินแมลง พืชจำพวกบุก-บอน พืชใบด่าง พืชสมุนไพร

พืชกินแมลง (Carnivorous Plants)
พืชกินแมลง เป็นพืชที่ได้สารอาหารบางส่วนหรือส่วนใหญ่ (แต่ไม่รวมถึงพลังงาน) จากการดักและบริโภคสัตว์ หรือสัตว์เซลล์เดียว ซึ่งปกติได้แก่แมลง และสัตว์ขาปล้องเหล่าอื่นๆ แต่ละชนิดก็มีวิธีการดักจับแมลงแตกต่างกันไป เช่น บางชนิดมีกะเปาะที่มีฝาปิด บริเวณใต้ฝา มีต่อมผลิตน้ำหวานที่คอยล่อมดและแมลงต่างๆ เมื่อมดพยายามจะกินน้ำหวาน ก็ต้องเดินผ่านขอบปากหม้อ หรือกะเปาะที่มีความลื่นเป็นพิเศษ ทำให้มดหรือแมลงลื่นหล่นลงไปจมน้ำที่อยู่ภายในหม้อตาย จากนั้นก็จะถูกย่อยสลายกลายเป็นอาหาร น่าทึ่งใช่ไม๊คะ กับวิธีการจับแมลงของต้นไม้แบบนี้

IMG_20160314_141856_resize

ต้นปังเหนียวที่เราซื้อมา ก็เป็นพืชกินแมลงเหมือนกัน แต่นึกไม่ออกว่ามันกินยังไง

IMG_20160314_141722_resize

พืชกินแมลงบางชนิดใช้ของเหลวเหนียวๆ เพื่อดักจับแมลง แล้วค่อยๆ ย่อยสลายแมลงนั้น เช่น ต้นสาหร่ายข้าวเหนียวค่ะ
อีกชนิดนึงไม่ได้ถ่ายรูปมา เรียกว่า ต้นกาบหอยแครง ลักษณะจะคล้ายๆ เปลือกหอยอ้าอยู่ พอมีแมลงเข้าไปตรงกลาง คงไปเหยียบโดน sensor ปุ๊บ มันก็จะงับเข้าหากัน แมลงก็จะติดอยู่ข้างใน เห็นมีคนซื้อไปเลี้ยงเหมือนเป็นสัตว์เลี้ยงเลย ถึงเวลาก็เอาแมลงให้กิน อืม.. น่าสนใจจริงๆค่ะ

ต่อไปเป็น พืชจำพวกบุก-บอน (Aroids)

ที่รู้จักกันดีก็จะเป็นประเภท สาวน้อยประแป้ง หรือพวกดอกหน้าวัวค่ะ แต่ละชนิดก็จะมีหลากสีกันออกไป เช่นแบบนี้ค่ะ

IMG_20160314_142440_resize

IMG_20160314_142614_resize

ถัดจากเรือนบุก-บอน ก็จะเป็น เรือนไม้ด่าง (Variegated Plants)

ไม้ด่างจะเป็นพืชที่มีลักษณะต่างไปจากปกติ โดยแสดงอาการด่างตามส่วนต่างๆ ทั้งต้น ใบ หรือดอก ซึ่งอาจมีสีสันและลวดลายด่างแตกต่างกันไป สาเหตุอาจเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณนั้น ไม่สามารถสร้างคลอโรฟิลล์ซึ่งมีสีเขียวปกติได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสารพันธุกรรมในเซลล์ ทำให้เห็นเป็นสีขาว เหลือง หรือแดง สลับกับเขียวปกติ เช่นต้นคล้าสามสี ต้นครุฑแคระ ต้นนกกระทา

จะว่าไปก็สวยงามไปอีกแบบนะคะ

IMG_20160314_142835_resize

IMG_20160314_142858_resize

IMG_20160314_142911_resize

IMG_20160314_143012_resize

ถัดไปเป็น เรือนสมุนไพร (Medicinal Plants)

พืชสมุนไพร หมายถึง พันธุ์ไม้ต่างๆ ที่นำมาใช้ปรุงหรือประกอบเป็นยารักษาโรคต่างๆ หรือใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกาย
ถ้าจะว่าไป สมุนไพรไทยมีมากมายหลายชนิด บางชนิดก็รู้จักกันดี แต่บางชนิดก็ไม่เคยได้ยินชื่อเลยก็มีค่ะ

IMG_20160314_143403_resize

IMG_20160314_143518_resize

IMG_20160314_143548_resize

IMG_20160314_143654_resize

ถ้ามาดูแล้ว ต้องกลับไปดูที่บ้านตัวเองนะคะ เผื่อว่าต้นไม้หรือพืชที่ปลูกไว้ จะมีอะไรที่อาจจะเป็นสมุนไพรโดยที่เราไม่เคยรู้ก็ได้ ต่อไปจะไปที่เรือนสับปะรดสี อันนี้ชอบมากค่ะ เพราะดูแล้วสดชื่นมาก

สัปปะรดสี (Bromeliads)

สัปปะรดสี เป็นชื่อเรียกของพืชกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์สัปปะรด (Bromeliaccac) พืชในวงศ์นี้มีสมาชิกมากถึง 59 สกุล 2,650 ชนิด
พบได้ทั้งบริเวณป่าดิบชื้น และที่แห้งแล้งในเขตทะเลทราย พบทั้งที่เป็นพืชเกาะตามต้นไม้ใหญ่ หรือขึ้นตามพื้นดิน
มีหลากหลายชนิดจริงๆค่ะ สวยมากๆเลย

IMG_20160314_143752_resize

IMG_20160314_144249_resize

IMG_20160314_143811_resize

IMG_20160314_143951_resize

IMG_20160314_144313_resize

เข้าไปในเรือนสัปปะรดสี รู้สึกสดชื่นมากค่ะ เนื่องจากเป็นพืชที่มีสีสันสวยงาม และขึ้นแบบเป็นระเบียบ ไม่มีกิ่งก้านที่ยาวเกินไป ทำให้ดูไม่รกหูรกตา
เมื่อจัดให้มาอยู่รวมกันก็ดูสวยมาก
เรือนถัดไปจะเป็นพืชประเภทบัวค่ะ

บัว (Lotus&Water Lily)

เรือนเพาะชำนี้ มีดอกบัวสวยๆ หลายสี หลายชนิดให้ดูค่ะ น่าทึ่งที่ว่า บางดอกมีขนาดใหญ่ แต่ก็สามารถเติบโตขึ้นมาเหนือผิวน้ำได้ โดยที่ก้านไม่งอเลย บางชนิดมีหลายสีในหนึ่งดอกด้วยค่ะ

IMG_20160314_144338_resize

IMG_20160314_144350

IMG_20160314_144401_resize

IMG_20160314_144444_resize

IMG_20160314_144451_resize

IMG_20160314_144507_resize

ต่อไป เราไปดูดอกไม้สวยๆ ต่อที่เรือนกล้วยไม้ค่ะ

กล้วยไม้และเฟิน (Orchids and Ferns)

ที่เรือนกล้วยไม้นี้ เราจะเห็นดอกกล้วยไม้เยอะมาก แล้วแต่ละดอกก็สีสวยขนาดใหญ่มากเลยค่ะ มีหลากหลายชนิด เหมาะสำหรับคนรักกล้วยไม้จริงๆ

IMG_20160314_144756_resize

IMG_20160314_144824_resize

IMG_20160314_144850_resize

IMG_20160314_144906_resize

ออกจากเรือนกล้วยไม้ เราจะตามเสียงน้ำตกเข้าไปที่ เรือนป่าดิบชื้น (Tropical Rainforests)

ในส่วนของป่าดิบชื้น มีน้ำตกจำลองเล็กๆด้วยนะคะ แล้วก็มีพืชพันธุ์ต่างๆที่ขึ้นในป่าดิบชื้น เข้ามาในนี้นี่เขียวชอุ่มเลยล่ะค่ะ ส่วนจัดแสดงนี้พิเศษตรงที่ว่า มีทางเดินรอบๆ แต่เป็นทางเดินแบบลาดชัน เหมือนเราเดินขึ้นไปเรื่อยๆเพื่อดูต้นไม้ชนิดต่างๆ รู้ตัวอีกทีก็ต้องเดินลงบันไดแล้ว ที่นี่มีภาพให้ดูไม่มากนะคะ เพราะพืชส่วนใหญ่มีสีเขียวเหมือนๆกันหมดเลยค่ะ

IMG_20160314_145444_resize

IMG_20160314_145501_resize

IMG_20160314_145639_resize

IMG_20160314_145734_resize

IMG_20160314_145824_resize

IMG_20160314_145918_resize

เดินเอาเหนื่อยไม่ใช่เล่นเลยนะคะเนี่ย ถัดไป เราจะไปที่เรือนพืชทนแล้งค่ะ

พืชทนแล้ง (Arid Plants)

กระบองเพชรและพืชอวบน้ำ (Cacti and Succulent) ส่วนใหญ่พบในเขตที่แห้งแล้งของโลก พืชเหล่านี้จะมีการปรับตัวให้อยู่รอดในสภาวะวิกฤติ เช่นการเก็บน้ำไว้ภายในลำต้น ใบและราก หรือมีใบที่มีหนามหรือขนแข็งเพื่อลดการคายน้ำ เมื่อพูดถึงกระบองเพชร เรามักจะนึกถึงต้นไม้ที่มีหนาม แต่เมื่อเราเข้ามาดูในเรือนพืชทนแล้งนี้ เราต้องเปลี่ยนความคิดของเราไปเลยทีเดียว เพราะบางชนิดนอกจากจะมีรูปทรงลำต้น หรือลักษณะการขึ้นจับเป็นกลุ่มที่แปลกๆและสวยงามแล้ว ดอกของมันก็มีสีสันสวยงามไม่แพ้กัน เราไปดูรูปดีกว่าค่ะ

1458302845989_resize

1458302856532_resize

1458302895829_resize

1458302952141_resize

IMG_20160314_150345_resize

IMG_20160314_150409_resize

IMG_20160314_150520_resize

IMG_20160314_150617_resize

IMG_20160314_150646_resize

IMG_20160314_150835_resize

IMG_20160314_150928_resize

เป็นไงบ้างคะ พืชทะเลทรายไม่ใช่จะดูแห้งแล้งเสมอไป เมื่อเราสังเกตดูดีๆ แต่ละชนิดมีรูปร่าง รูปทรงของลำต้น การออกดอกที่สวยมาก และแตกต่างกันออกไป บางต้นมีรูปร่างเหมือนแจกันที่มีดอกไม้ปักอยู่เลยล่ะค่ะ มีชนิดนึงหน้าตาเหมือนสมอง บางชนิดมีคล้ายๆขนนุ่มๆหุ้มลำต้นอยู่ แต่อย่าได้เผลอไปแตะเชียวนะคะ หนามทั้งนั้นเลย นี่แหละค่ะ ความงามที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา

ใช้เวลานานพอสมควรในการเดินชื่นชมพืชหลายหลายชนิดที่กลุ่มอาคารเรือนกระจก ทำให้รู้สึกสดชื่น และจินตนาการว่า ถ้าเราได้อยู่ในสวนสวยงามแบบนี้ มีเวลาชื่นชมความสวยงามแบบนี้ทุกๆวัน ก็คงจะดี เดินจากกลุ่มอาคารเรือนกระจกมาด้วยความรู้สึกอิ่มเอมในใจลึกๆ รู้สึกดีที่รู้ว่า ควรจะขอบคุณใครสำหรับความสวยงามเหล่านี้

ตอนหน้า จะพาไปเดินในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติค่ะ ทีนี้จะเดินในอาคารปิด เป็นห้องแอร์ ก็จะเย็นสบายแล้วล่ะค่ะ

コメント